Tel +662-878-5000

สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา

สาขาวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา

สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
(ชื่อเต็ม)    สาขาวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา
(ชื่อย่อ)      ศษ.ม. (เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา)
ภาษาอังกฤษ    Master of Education Program in Technology and Innovation for Educational Administration
(ชื่อย่อ)    M.Ed. (Technology and Innovation for Educational Administration)

ปรัชญา
ผลิตมหาบัณฑิตให้เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และนักการศึกษาทุกระดับ ที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารสถานศึกษา บริหารการศึกษา และหน่วยงานทางการศึกษา ตลอดจน การพัฒนาองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ความสำคัญของหลักสูตร
เนื่องจากสภาพปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีและสารสนเทศ นักการศึกษาทุกระดับ โดยเฉพาะผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา จำเป็นต้องมีความรู้ และสามารถนำเทคโนโลยีและสารสนเทศมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนา และเป็นการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่สังคมและชุมชน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต อันเป็นการตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน


วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
              1. เพื่อพัฒนานักบริหารการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา เช่น นักวิจัย นวัตกรผู้สร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการศึกษา นักเทคโนโลยีและสารสนเทศ และผู้ประกอบอาชีพอิสระด้านการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาได้ เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับบริบท Thailand 4.0 & Education 4.0 และสังคม ไทย
              2. เพื่อพัฒนานักบริหารการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา นักการศึกษาทุกระดับ และบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน
              3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ

ดำเนินการเรียนการสอน เสาร์ – อาทิตย์ 
ภาคการศึกษาที่ 1 สิงหาคม – พฤศจิกายน
ภาคการศึกษาที่ 2 มกราคม – เมษายน
ภาคการศึกษาฤดูร้อน พฤษภาคม – กรกฎาคม



ภาษาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ 
มีการฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

โครงสร้างของหลักสูตรแบ่งออกเป็น ๒ แผนการศึกษา ดังนี้ Screen Shot 2562-03-08 at 12.09.06 Screen Shot 2562-03-08 at 12.09.25 Screen Shot 2562-03-08 at 12.16.38 Screen Shot 2562-03-08 at 12.17.07 Screen Shot 2562-03-08 at 12.17.19 Screen Shot 2562-03-08 at 12.17.57 Screen Shot 2562-03-08 at 12.18.22

หลักสูตรของแผน ก. แบบ ก๒

Screen Shot 2562-03-08 at 12.20.10 Screen Shot 2562-03-08 at 12.20.50

หลักสูตรของแผน ข

Screen Shot 2562-03-08 at 12.22.04 Screen Shot 2562-03-08 at 12.22.26
อาจารย์ประจำหลักสูตร
1.อาจารย์ ดร. ไตรรัตน์ สิทธิทูล
ตำแหน่ง รักษาการผู้อำนวยการหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา (Technology and Innovation for Educational Administration)
Degree - ปร.ด. (การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ) มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ปี พ.ศ. 2552
- กศ.ม. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร ปี พ.ศ. 2535
- กศ.บ. (สังคมศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางเขน ปี พ.ศ. 2523

2. อาจารย์ ดร. ภัทร์ธมณฑน์ เรืองวิทยาวุฒิ
ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา (Technology and Innovation for Educational Administration)
Degree - กษ.ด. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร ปี พ.ศ. 2551
- คม. (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ปี พ.ศ. 2547
- คบ. (วิชาเอก ศิลปศึกษา วิชาโท เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา) วิทยาลัยครูนครสวรรค์ ปี พ.ศ. 2538

3.อาจารย์ ดร. สุพัตรา ประดับพงศ์
ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา (Technology and Innovation for Educational Administration)
Degree - Ed.D. (Instructional Systems Design and Technology) University of Pittsburgh,USA ปี พ.ศ. 2536
- M.Ed. (Teaching English) Southeastern Oklahoma State University, USA ปี พ.ศ. 2522
- B.Ed. (Teaching English) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2516

4.อาจารย์ ดร. สำนวน คุณพล
ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา (Technology and Innovation for Educational Administration)
Degree - ศษ.ด. (การศึกษา) มหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ. 2557
- ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน) มหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ. 2551
- วท.บ. (คณิตศาสตร์เชิงคอมพิวเตอร์) (เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยรังสิต ปี พ.ศ. 2548

5.อาจารย์ รศ.ดร. รุจา ผลสวัสดิ์
ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารการศึกษา (Technology and Innovation for Educational Administration)
Degree - Ph.D. (Education-Applied Linguistics) Ontario Institute for Studies in Education (OISE), University of Toronto, Canada ปี พ.ศ. 2528
- Graduate Dip. TESL, Post-Secondary University of Alberta, Canada ปี พ.ศ. 2523
- M.A. (English) University of Alberta, Canada ปี พ.ศ. 2522
- อ.ม. (ภาษาอังกฤษ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2514
- อ.บ. (ภาษาอังกฤษ) (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2512
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
๘.๑ ผู้บริหารสถานศึกษา หรือ ผู้บริหารการศึกษา ซึ่งต้องบริหารจัดการองค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
๘.๒ นักวิจัย/ นักวิชาการด้านการศึกษา ครู อาจารย์ ที่สอนในระดับก่อนปริญญาตรี และ อาจารย์ที่สอนในระดับปริญญา ตรี/ โท ด้านการศึกษา
๘.๓ นวัตกรด้านการสร้างนวัตกรรมด้วยเทคโนโลยีและการสารสนเทศ
๘.๔ นักเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
๘.๕ ผู้ประกอบอาชีพอิสระทางด้านการศึกษา
คุณสมบัติผู้สมัคร
   เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี
   เป็นผู้ที่มีร่างกายและสุขภาพจิตสมบูรณ์ ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพไร้ความสามารถ จิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ และต้องมีบุคลิกที่ 
 คณะกรรมการการคัดเลือกเห็นว่าไม่เป็นอุปสรรคในการศึกษา และการประกอบอาชีพ
   เป็นผู้ปราศจากโรคติดต่อร้ายแรง และโรคอื่นๆ ที่คณะกรรมการแพทย์เห็นว่าเป็นอุปสรรคในการศึกษา และการประกอบอาชีพ
   ไม่เคยต้องโทษตามคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่กรณีความผิดอันกระทำโดยประมาท หรือความผิดอันเป็นลหุโทษ

 การเทียบโอนหน่วยกิต
   Transcript        - เทียบโอนรายวิชาจากสถาบันอื่น ใช้ตัวจริงที่ออกโดยสถาบัน    จำนวน 1 ฉบับ
       - ปริญญาโทใบที่สอง สำเนาใบ Transcript จำนวน 2 ฉบับ
   คำอธิบายรายวิชา จำนวน 2 ฉบับ
 หมายเหตุ: กรณีที่รอ Transcript ตัวจริง ซึ่งเป็นฉบับทางการออกโดยสถาบัน ให้ใช้ใบเช็คเกรดเพื่อเทียบโอนรายวิชาเป็นการชั่วคราวก่อน ระหว่างที่ยังรอฉบับตัวจริง

 เอกสารประกอบการสมัคร                                                          
    สำเนาวุฒิการศึกษา  จำนวน 3 ฉบับ                                     
    สำเนาใบเทียบวุฒิ (กรณีจบการศึกษาจากต่างประเทศ)      
       จำนวน 1 ฉบับ                                                                      
    สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ
    สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ
    รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป
    สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (ถ้ามี) จำนวน 2 ฉบับ
  ** หมายเหตุ:  เอกสารประกอบการสมัคร สำเนาเป็นขนาด A4 พร้อมเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้องทุกฉบับ