Email: info@siamtechno.ac.th
Tel +662-878-5000

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต Master of Public Health Program
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ Master of Public Health Program
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ M.P.H. (Master of Public Health)

หลักสูตร
หลักสูตรมี 2 แผน
1. แผน ก แบบ ก2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพน์ ซึ่งมีค่าเทียบได้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิตและศึกษางานรายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
2. แผน ข ซึ่งเป็นแผนการศึกษาที่เน้นการศึกษางานรายวิชาไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต โดยไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์แต่ต้องทำการค้นคว้าอิสระไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
คุณสมบัติ
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชา ทงสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ พยาบาลศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาอื่นๆ จากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ หรือต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือน่วยงานของรัฐที่มีอำนาตามกฏหมายให้การรับรอง ด้วยคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต้อยกว่า 2.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร   36 หน่วยกิต
หลักสูตรปริญญาโท 2 ปีการศึกษา
ภาษาที่ใช้  ภาษาไทย
การรับเข้าศึกษา  รับนักศึกษาไทย และ นักศึกษาต่างชาติ ที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา 
ให้ปริญญา เพียงสาขาเดียว สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพ และมาตรฐานสาธารณสุข  หลักสูตรมีความพร้อมเผยแพร่คุณภาพและมาตรฐานตามแบบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับปริญญาโทหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ปี 2559
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา (สัมพันธ์กับสาขาวิชา)
– เป็นบุคลากรสาธารณสุขในสถานบริการสุขภาพของรัฐ
– เป็นบุคลากรสาธารณสุขในสถานบริการสุขภาพของเอกชน
– เป็นบุคลากรสาธารณสุขในองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น
– เป็นอาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยของรัฐ
– เป็นอาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยเอกชน
– เป็นผู้บริหารในหน่วยงานสาธารณสุข
– เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานด้านสาธารณสุขในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ
– เป็นผู้บริหารงานสาธารณสุขในหน่วยงานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ยึดมั่นตามหลักการปฏิรูประบบสุขภาพและการปฏิรูปสังคม โดยการใช้การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสังคมใหม่ที่มีความเสมอภาคและความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตปรับปรุงใหม่ มีความมุ่งหมายที่จะส่งเสริม ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจของผู้เรียนตามวิถีประชาธิปไตย โดยการบูรณาการหลักวิชาการ ประสบการณ์ และองค์ความรู้จากศาสตร์ต่างๆ มาประกอบการเรียนรู้  ยึดความเป็นองค์รวมทางสุขภาพเป็นแนวทางการปรับปรุงหลักสูตร ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน และยึดรูปแบบองค์กรทางสุขภาพและทางสาธารณสุขที่พึงประสงค์ตามวิถีประชาธิปไตยมาเป็นศูนย์กลางของการจัดกระบวนการเรียนการสอน  เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้สภาพปัญหาทางสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุขที่แท้จริงของชุมชนและสังคมให้เกิดขึ้นในระหว่างผู้เรียนจากบริบทที่หลากหลาย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เรียนร่วมกันแสวงหาและสร้างสรรค์กลวิธีที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศทางการสาธารณสุข มีความเชี่ยวชาญทางการวิจัยทางสาธารณสุข และมีความเป็นผู้นำทางวิชาการและการจัด การงานสาธารณสุข ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับบุคลากรในองค์กรหรือหน่วยงานสาธารณสุขทุกระดับ กับชุมชนและในสังคมที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้กรอบของคุณธรรมและจริยธรรมที่ดี ทั้งนี้ เพื่อการพัฒนาสุขภาพและสังคม และเพื่อการสนับสนุนทางการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาให้แก่ผู้ทำงานที่มีประสบการณ์ด้านสาธารณสุข

 คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ-5
Screen Shot 2561-10-26 at 14.44.02 Screen Shot 2561-10-26 at 14.44.23 Screen Shot 2561-10-26 at 14.44.51

อาจารย์ประจำหลักสูตร

Screen Shot 2561-10-26 at 14.47.25

อาจารย์พิเศษ

Screen Shot 2561-10-26 at 14.47.38
แนวทางการประกอบวิชาชีพ
- เป็นบุคลากรสาธารณสุขในสถานบริการสุขภาพของรัฐบาล
- เป็นบุคลากรสาธารณสุขในสถานบริการสุขภาพของเอกชน
- เป็นบุคลากรสาธารณสุขในองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น
- เป็นอาจารย์ทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพหรือสาขาที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยของรัฐหรือมหาวิทยาลัยของเอกชน
- เป็นนักวิชาการและผู้บริหารในหน่วยงานสาธารณสุข
- เป็นเจ้าหน้าที่บริหารงานด้านสาธารณสุขในสถานบริการสาธารณสุข - เป็นผู้บริหารงานสาธารณสุขในหน่วยงานสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ระบบการจัดการศึกษา การดำเนินการ และโครงสร้างหลักสูตร 
ระบบการจัดการศึกษา
ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ แต่ละภาคการศึกษามีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการประจำหลักสูตร การเทียบเคียงหน่วยกิต ในระบบทวิภาค ไม่มี
การดำเนินการหลักสูตร
วัน - เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
รอบปกติ วันอังคาร – เสาร์ เวลา 08.00-16.00 น.
นอกวัน–เวลาราชการ วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-16.00 น. .

ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – เมษายน
ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่าในสาขาวิชาทางสาธารณสุขศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ชีวภาพ หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือพยาบาลศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ หรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายให้การรับรอง ด้วยคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.0 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทางวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาอื่นๆ จากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศหรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมายให้การรับรอง ด้วยคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.0 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า
3) มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดีเพื่อประโยชน์ในการเรียน โดยความรู้พื้นฐานต้องเป็นไปตามที่คณะกรรมการประจำหลักสูตรกำหนด ผู้ที่มีความรู้ต่ำกว่าพื้นฐานที่กำหนด จะต้องปรับปรุงพื้นฐานความรู้ให้ได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประจำหลักสูตรกำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าขาดคุณสมบัติ
4) ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
5) ผ่านการสอบคัดเลือกเข้า
6) มีคุณสมบัติอื่น ๆ เพิ่มเติมตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ว่าด้วยการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2555 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2556