เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา มีปณิธานในการจัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตด้านวิชาชีพขั้นสูงในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความรู้ความสามารถทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติในหลากหลายสาขาวิชา โดยมุ่งหวังให้นักศึกษามีทั้งทักษะทางด้านวิชาการและวิชาชีพก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะในยุคอุตสาหกรรม (Industrialization) ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในทักษะวิชาชีพขั้นสูง

จากความมุ่งมั่นที่จะเข้าสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม ของประเทศไทยแต่ยังมีความขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความรู้คู่ทักษะที่พร้อมสำหรับการขับเคลื่อนประเทศของเราสู่เส้นทางที่มุ่งหวังของ อาจารย์ ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ถือเป็นบุคคลตัวอย่าง ที่มีความมุ่งมั่นที่รับผิดชอบต่อความต้องการของสังคมโดยเล็งเห็นความขาดแคลนบุคลากรที่มีคุณภาพทางทักษะอุตสาหกรรม จึงได้สร้างสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนที่ให้บริการความรู้ ทางด้านช่างอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทยเมื่อ ปีพุทธศักราช 2508 โดยใช้ชื่อว่า “โรงเรียนช่างกลสยาม” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ อันกว้างไกลและปณิธานอันแน่วแน่ที่จะเดินไปสู่จุดมุ่งหมายจากหลายทศวรรษที่ผ่านมาแล้วนั้น “โรงเรียนช่างกลสยาม” ได้เปลี่ยนเป็น โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม” โดยเพิ่มสาขาวิชาด้านพาณิชยกรรมและได้ยืนหยัดอยู่ในระดับแนวหน้าของกลุ่มโรงเรียนอาชีวะศึกษาที่มีคุณภาพของประเทศจากวันแรกถึงวันนี้ความเจริญก้าวหน้าของสถาบัน ดังกล่าวเป็นที่ประจักษ์ถึงความก้าวหน้าและความมุ่งมั่นที่จะสร้างประโยชน์ต่อสังคมและเยาวชนไทย อย่างผู้นำมิใช่ผู้ตามโดยแท้จริง

alt

ในปีพุทธศักราช 2548 นับเป็นปีที่ 40 ของสถาบันดังกล่าวและนับเป็นก้าวใหม่ของการเดินทางสู่จุดหมายตามแนวทางที่อาจารย์ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ได้ทำเป็นตัวอย่างไว้โดยทางโรงเรียนเทคโนโลยีสยามได้จัดตั้งโครงการ “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม” ขึ้น เพื่อสานต่อปณิธานของ อาจารย์ดร.ณรงค์ มงคลวนิช และสานต่อความต้องการของสังคมในการผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพและวุฒิภาวะที่สูงขึ้น โดยให้บริการการศึกษาที่ผสมผสานความรู้ด้านทฤษฏีควบคู่ทักษะ โดยเน้นวัดผลจากการปฏิบัติงานได้จริงตามสภาพปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วซึ่ง “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม” ได้เปิดดำเนินการในปีการศึกษา 2549 ในเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ซึ่งมีพื้นที่ติดกับ“โรงเรียน เทคโนโลยีสยาม” โดยแยกพื้นที่ทั้งสองสถาบันอย่างเป็นสัดส่วน การจัดการศึกษาในปีการศึกษาแรกของ “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม” เน้นถึงการศึกษาที่ต่อเนื่องสำหรับผู้จบการศึกษาจากทางโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม โดยเปิดหลักสูตรปริญญาตรีทางด้านเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจที่รองรับทุกหลักสูตร ที่เปิดสอนในโรงเรียนเทคโนโลยีสยาม แล้วจึงขยายสาขาวิชาเพิ่มเติม ที่เป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย โดยมุ่งเน้นจัดการศึกษาให้มีความต่อเนื่องและเท่าเทียมกันไม่ว่านักศึกษาจะมาจากสถาบันการศึกษารูปแบบใด และระดับใด

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามมีเป้าหมาย
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม มีเป้าหมายที่จะเปิดบริการทางการศึกษาในสาขาวิชาที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม และเป็นการเชื่อมต่อโลกแห่งการศึกษาและโลกแห่งงานที่แท้จริงเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายยิ่งขึ้นของสังคม ตามเจตนารมณ์ของ อาจารย์ดร.ณรงค์ มงคลวนิช ที่ได้สร้างมาตรฐานความเป็นผู้นำในการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษา เพื่อประโยชน์ที่แท้จริงต่อสังคมมิใช่ผู้ตามเพียงกระแสนิยม วิสัยทัศน์และพันธกิจ ของวิทยาลัย
ค่านิยมหลักของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ใช้คำย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “I-ROAR” หมายถึง ฉัน – คำราม ซึ่งแสดงถึงการเอาชนะความท้าทาย หรือความสามารถในการปฏิบัติได้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายโดยคำว่า “I-ROAR” ย่อมาจากคำต่างๆ และมีความหมาย ดังนี้

  • I ย่อมาจาก Integrity หมายถึง มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและองค์กร
  • R ย่อมาจาก Responsibility หมายถึง มีความรับผิดชอบในหน้าที่การงานมุ่งมั่น สู่ความสำเร็จ
  • O ย่อมาจาก Open with oblige หมายถึง มีใจเปิดกว้างที่จะช่วยเหลือด้วยแนวคิด ใหม่ และมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้อื่น
  • A ย่อมาจาก Agile with Adaptability หมายถึง มีความสามารถในการปรับตนให้เหมาะสม กับงานที่แตกต่างได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว
  • R ย่อมาจาก Reality หมายถึง ยึดมั่นในความจริง

สถานที่ตั้ง 

วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ตั้งอยู่เลขที่ 46 ถนนจรัญสนิทวงค์ แขวงวัดท่านพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 มีเนื้อที่ 8 ไร่ 3 งาน 67 ตารางวา ซึ่งมีสภาพแวดล้อมดี มีการคมนาคมที่สะดวก มีรถประจำทางผ่านหลายสาย ทั้งรถประจำทางธรรมดาและรถปรับอากาศ เช่น ปอ 509 ปอ 91 ปอพ 10 ปอ 5842 ปอ 171 ลาย 42 57 58 80 81 91 103 146 169 และในอนาคตจะมีรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงินผ่านหน้าวิทยลัยซึ่งจะเพิ่มความสะดวกสบายในการเดินทางอย่างมาก

ด้านอาคารสถานที่ 
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามมีความพร้อมด้านอาคารเรียนและอาคารปฏิบัติการทีมีอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยดังนี้

  • อาคารอำนวยการ (อาคาร 9)
  • อาคารปฏิบัติการ (อาคาร 2)
  • อาคารนิทรรศการ (อาคาร3)
  • อาคารปฏิบัติการ (อาคาร4)
  • อาคารปฏิบัติการ (อาคาร5)
  • อาคารโรงอาหาร (อาคาร 6)
  • อาคารคณะเทคโนลยี (อาคาร 7)
  • อาคารเอนกประสงค์ (อาคาร 8)

สำหรับอาคารอำนวยการ (อาคาร 9) นั้นเป็นอาคารหลักสูง 12 ชั้น และมีชั้นใต้ดินเป็นที่จดรถในพื้นที่อาคารชั้น 1- 12 นั้นนอกจากจะเป็ฯห้งเรียน ห้องปฏบิตการ ห้องทำงานผู้บริหาร คณาจารย์ และสำนักงานแล้ว ยังมีห้องประชุมขนาดใหญ่ กลาง และเล็กอีกหลายห้อง รวมทั้งสำนักหอสมุดเพื่อเป็นศูนย์วิทยาบริการให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองรส่วนอาคารอื่นๆ นั้นเป็นอาคารเรียนอาคารปฏิบัติการ อาคารกิจการรม ศูยน์คอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาคณะต่างๆโดยเฉพาะ ทำให้งายต่อการบริหารและอำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษา