Email: info@siamtechno.ac.th
Have any question? 02-878-5000

สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีโลจิสติกส์

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ Master of Science Program in Logistics Technology

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ Master of Science Program in Logistics Technology

สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีโลจิสติกส์

หลักสูตรเทคโนโลยีมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีโลจิสติกส์ Master of Technology Program in Logistics Technology Management
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) เทคโนโลยีมหาบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีโลจิสติกส์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) ทล.ม. (การจัดการเทคโนโลยีโลจิสติกส์)
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ Master of Technology (Logistics Technology Management)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ M.T. (Logistics Technology Management)

ความสำคัญ
เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้ศึกษาทางด้านเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนได้แสวงหาความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติและรู้จักประมวลความคิด วิเคราะห์เหตุและผล ศึกษาการวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์ทางด้านธุรกิจการประยุกต์ใช้ในการบริหารและจัดการ การสร้างวิสัยทัศน์ พันธะกิจ นโยบาย การจัดองค์การ การนำการควบคุม ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เพื่อพัฒนาสังคมและประเทศชาติสืบไป

วัตถุประสงค์
    เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว นักศึกษาจะเป็นผู้มีสมรรถนะ ดังนี้
1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่โดยครอบคลุมพื้นฐานระบบสารสนเทศทั้งด้านฮารด์แวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล เครือข่าย และอินเทอร์เน็ต เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้กิจกรรมหลักโลจิสติกส์ได้อย่างเหมาะสม
2. เพื่อให้มหาบัณฑิตให้มีสมรรถนะในการวางแผนธุรกิจ การจัดการองค์การ การนำองค์การ และการควบคุมและการเลือกกลยุทธ์และยุทธวิธีที่เหมาะสม ให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ
3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มคุณค่า ยกระดับการบริการลูกค้า ลดต้นทุนเพื่อเพิ่มผลผลิต และเพิ่มกำไรให้ธุรกิจสูงยิ่งขึ้น และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
4. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้ความชำนาญเฉพาะด้าน และมีคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบวิชาชีพให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของชีวิต ตอบสนองสถานประกอบการ หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ

การดำเนินการหลักสูตร
นอกเวลาราชการปกติ คือ วันเสาร์ - อาทิตย์
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – เมษายน
ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม

คุณสมบัติผู้สมัคร
      คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษามีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
-หลักสูตรแผน ก (แบบ ก 2) และแผน ข เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรองทุกสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
-คุณสมบัติต้องเป็นไปตามระเบียบวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามว่าด้วย “การจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2555” แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558

เกณฑ์การคัดเลือก
     - ผู้ที่จะเข้าศึกษาจะต้องผ่านการคัดเลือกโดยการสอบข้อเขียนและ/หรือการสอบสัมภาษณ์โดยจะพิจารณาจากคุณสมบัติประสบการณ์การทำงานความสนใจ ความมุ่งมั่นและความสามารถ ตลอดจนความพร้อมที่จะศึกษาในระดับปริญญาโท รวมทั้งผลการเรียนจากสถาบันเดิม(วิธีการและเกณฑ์การคัดเลือกให้เป็นไปตามประกาศของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เรื่องการรับสมัครนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในปีนั้นๆ)
    - ได้รับอนุมัติจากกรรมการศูนย์บัณฑิตศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
ยินยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของศูนย์บัณฑิตศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
โครงสร้างของหลักสูตร

รายวิชาเสริมพื้นฐาน ไม่นับรวม
วิชาบังคับ  24 หน่วยกิต
วิชาเลือก  9 หน่วยกิต
การค้นคว้าอิสระ  3 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์  12 หน่วยกิต

รวมตลอดหลักสูตร    36 หน่วยกิต

อาจารย์ รศ.ดร.ศักดิ์ กองสุวรรณ ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ป.ตรี : วศ.บ. โยธา-ขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2510 ป.โท : M.S.C.E Transportation) University of Missouri-Rolla 2516 ป.เอก : Ph.D. Civil Engineering) MSU 2523


ดร.สุพัชรี สุปริยกุล ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ป.เอก: ปร.ด. (การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน) มหาวิทยาลัยศรีปทุม ป.โท: บธ.ม. (การจัดการโลจิสติกส์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง

แนวทางการประกอบวิชาชีพ
- ผู้ที่สำเร็จการศึกษาในสายงานทางด้านโลจิสติกส์สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนหรือประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น หัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือบุคคลากรระดับปบริหารจัดการในกระทรวงคมนาคม กรมศุลกากร การท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทสายการบิน บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัทขนส่งทั้งภายในและระหว่งประเทศ หรือ บริษัทผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ธุรกิจคลังสินค้า และการกระจายสินค้า ธุรกิจนำเข้าและส่งออก ธุรกิจคลังสินค้า และการกระจายสินค้า ธุรกิจนำเข้าและส่งออก ธุรกิจจัดซื้อ จัดจ้าง อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมค้าปลีก และอุตสาหกรรมบริการ ฯลฯ

คุณสมบัติผู้สมัคร
      - มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ว่าด้วยการศึกษาขั้น ปริญญามหาบัณฑิต
      - เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านเทคโนโลยี หรือสาขาที่ใกล้เคียง หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือ
      - สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขาอื่น โดยได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับไม่ต่ำกว่า 2.50 และมีประสบการณ์การทำงานด้านโลจิสติกส์ หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ปี หลังจบการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือ
      - สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีโดย ได้รับคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับต่ำกว่า 2.50 ผู้สมัครจะต้องมีประสบการณ์การทำงานด้านโลจิสติกส์ หรือด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในตำแหน่งผู้บริหารในสถานประกอบการทางธุรกิจทุกระดับมาแล้ว 2 ปีขึ้นไป
      - สำหรับผู้สมัครที่มีคุณสมบัติอื่นๆ นอกเหนือจากข้อ 2-4 ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการศูนย์บัณฑิตศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

เกณฑ์การคัดเลือก
     - ผู้ที่จะเข้าศึกษาจะต้องผ่านการคัดเลือกโดยการสอบข้อเขียนและ/หรือการสอบสัมภาษณ์โดยจะพิจารณาจากคุณสมบัติประสบการณ์การทำงานความสนใจ ความมุ่งมั่นและความสามารถ ตลอดจนความพร้อมที่จะศึกษาในระดับปริญญาโท รวมทั้งผลการเรียนจากสถาบันเดิม(วิธีการและเกณฑ์การคัดเลือกให้เป็นไปตามประกาศของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เรื่องการรับสมัครนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในปีนั้นๆ)
    - ได้รับอนุมัติจากกรรมการศูนย์บัณฑิตศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
ยินยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของศูนย์บัณฑิตศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม