Email: info@siamtechno.ac.th
Have any question? 02-878-5000

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

โครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต Master of Business Administration Program
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) :(บธ.ม.) บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ Master of Business Administration
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ M.B.A.

ความสำคัญ

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560) วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ได้เล็งเห็นถึงความต้องการของนักศึกษาเป็นหลัก จึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พัฒนาทักษะเชิงลึก ด้วยการเลือกเรียนในกลุ่มวิชาที่สนใจ ได้แก่ กลุ่มวิชาการจัดการทั่วไป กลุ่มวิชาการบัญชีบริหาร กลุ่มวิชาการตลาด กลุ่มวิชาการเงินและการธนาคาร และกลุ่มวิชาการจัดการงานก่อสร้าง ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยมีบุคลากรและคณาจารย์ผู้สอนที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ทางด้านการบริหารธุรกิจ เรียนเฉพาะวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี

ระบบการศึกษา

     จัดการศึกษาเป็นระบบทวิภาคโดยแบ่งการศึกษาใน 1 ปีการศึกษา ออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ และภาคการศึกษาฤดูร้อน ในแต่ละภาคการศึกษาใช้เวลาในการจัดการศึกษาเท่าๆ กัน คือ 1 ภาคการศึกษาปกติ ระยะเวลาในการศึกษาในแต่ละรายวิชาอย่างน้อย 15 สัปดาห์ 

    หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน มีจำนวน 2 รายวิชา (ไม่นับหน่วยกิต)

  •       *วิชาภาษาอังกฤษระดับบัณฑิตศึกษา (นักศึกษาทุกคนต้องเรียน)
  •       *วิชาการบัญชีการเงิน (เฉพาะนักศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรีไม่ตรงกับการบริหารธุรกิจหรือการจัดการ)

    หมวดวิชาบังคับ จำนวน 5 รายวิชา (จำนวน 15 หน่วยกิต)

  •       *วิชาการจัดการการเงินและการบัญชี
  •       *วิชาการบริหารการตลาดและการจัดการเชิงกลยุทธ์
  •       *วิชานวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
  •       *วิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อการจัดการและการจัดการดำเนินงาน
  •       *วิชาระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ

    หมวดวิชาเลือก จำนวน 5 กลุ่มวิชา (จำนวน 15 หน่วยกิต)

  •       หลักสูตรมีวิชาเลือก จำนวน 37 รายวิชา และนักศึกษาเลือก 1 ด้านกลุ่มวิชาที่ต้องการเรียนตลอดหลักสูตร ได้แก่ กลุ่มวิชาการจัดการทั่วไป กลุ่มวิชาการบัญชีบริหาร กลุ่มวิชาการตลาด กลุ่มวิชาการเงินการลงทุนและการธนาคาร และกลุ่มวิชาการจัดการงานก่อสร้าง
จำนวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
โครงสร้างของหลักสูตร
(แผน ก) หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
  หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
  วิชาวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
(แผน ข) หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
  หมวดวิชาเลือก 15 หน่วยกิต
  วิชาการค้นคว้าอิสระ   6 หน่วยกิต
  รวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
หมายเหตุ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องทางด้านการบริหารธุรกิจ จะต้องศึกษา รายวิชา 800 102 การบัญชีการเงิน เพิ่มเติมเพื่อปรับพื้นฐานโดยไม่นับจำนวนหน่วย

ดร.สมโภชน์ มายะรังษี
ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
คุณวุฒิ
ปร.ด. (การจัดการ) ม. สยาม, 2548
วศ.ม. (การจัดการ) ม. สยาม, 2541
อส.บ. (ไฟฟ้า) ม.สยาม, 2534

 


 

ดร.เดชา โลจนสิริศิลป
ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
คุณวุฒิ

ปร.ด. (การจัดการ) ม. สยาม, 2558

บธ.ม. (การจัดการ) ม. สยาม, 2538

บธ.บ. (บัญชี)  ม.รามคำแหง, 2533

 


 

ดร.ภัทรฤทัย  เกณิกาสมานวรคุณ

ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
คุณวุฒิ
ปร.ด. (การจัดการ) มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 2560

บธ.ม. (การจัดการ) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553

บธ.บ. (การจัดการ) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาวาสุกรี, 2545

 


 

ดร.สุภา  จิรวัฒนานนท์

ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
คุณวุฒิ
ปร.ด. (การจัดการ) ม. สยาม, 2556

บธ.ม. (การจัดการ)  มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2553

บธ.บ. (การจัดการ) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยาวาสุกรี, 2545

 


 

 

 

ดร.นิติเวช นนท์จันทร์
ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
คุณวุฒิ
บธ.ด. (บริหารธุรกิจ) ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขอนแก่น,2558
บธ.ม. (บริหารธุรกิจ) ม.มหาสารคราม,2545
คศ.บ. (สุขศึกษา) ม.ราชภัฎสกลนคร,2532

 


ดร.ธงชัย เหมทานนท์
ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
คุณวุฒิ
บธ.ด. (บริหารธุรกิจ) ม.กรุงเทพธนบุรี, 2558

บธ.ม. (บริหารธุรกิจ) ม.กรุงเทพธนบุรี, 2554

บธ.ม. (การจัดการอุตสาหกรรม) ม.กรุงเทพธนบุรี, 2551

 


 

ผศ.พัทธยา ยงชัยตระกุล
ตำแหน่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
คุณวุฒิ
บช.ม. (การบัญชี) ม.ธรรมศาสตร์,2546
บธ.บ. (การบัญชี) ม. รามคำแหง,2530

 


แนวทางการประกอบวิชาชีพ            หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ได้บูรณาการและถ่ายทอดความรู้ทางด้านการบริหารธุรกิจเฉพาะด้านให้แก่ผู้เรียน ดังนั้นผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารธุรกิจไม่ว่าจะเป็นการจัดการทั่วไป, การตลาด, การเงิน, การบัญชี, การจัดการงานก่อสร้าง และการบริหารอื่นๆ อีกมากมาย การเรียนการสอนในหลักสูตร MBA จะมีการทำงานเป็นกลุ่ม สิ่งนี้ที่จะช่วยให้นักศึกษาๆ ได้เรียนรู้ถึง การทำงานร่วมกันเป็นทีม, การบริหารเวลา และการบริหารทรัพยากรบุคคล ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่เราได้จากการเรียน MBA ซึ่งเป็นสิ่งที่ใครหลายคนอาจมองข้ามความสำคัญตรงนี้ไป แต่ก็ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งได้ให้ความสำคัญกับมันเป็นอย่างมาก นั่นคือ “Network” หรือ “เครือข่าย” ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อนร่วมสถาบัน และอาจารย์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์สำหรับอนาคตในการทำงานได้อย่างมากมาย บุคคลที่เข้ามาเรียนในหลักสูตร MBA ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่กำลังหรือเป็นผู้บริหารในองค์กรที่ตนทำงานอยู่ เพื่อนำความรู้ไปพัฒนาองค์กรของเราเองได้ ดังนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาจาก MBA วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม สามารถทำงานในด้านการบริหารธุรกิจทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน หน่วยงานบริการสังคมต่างๆ โดยตำแหน่งงานที่สามารถทำได้ ได้แก่ ผู้บริหารองค์กร เจ้าของธุรกิจ ที่ปรึกษา นักวิจัย นักวิเคราะห์ ผู้ปฏิบัติงานด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา
       - สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาหรือเทียบเท่า จากสถาบันที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เป็นผู้ที่มีเกรดเฉลี่ยสะสม (G.P.A.) ไม่ต่ำกว่า 2.5
       - ผู้ที่มีเกรดเฉลี่ยสะสม (G.P.A.) ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ต้องมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 2 ปี
       - ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องทางการบริหารธุรกิจ จะต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อ ปรับพื้นฐานในกลุ่มวิชาเสริมพื้นฐาน
       - คุณสมบัติที่ไม่ตรงกับข้อ 1-3 ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเห็นสมควร


หลักฐานประกอบการสมัคร
1) สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 2 ฉบับ
2) สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 2 ฉบับ
3.) ใบรับรองผลการศึกษา/สำเนาคุณวุฒิ จำนวน 2 ฉบับ
4) รูปถ่าย 1 นิ้ว (หน้าตรง) จำนวน 2 รูป

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา
- ผู้ที่เข้าศึกษาจะต้องผ่านการคัดเลือกโดยสอบสัมภาษณ์ โดยจะพิจารณาจากคุณสมบัติประสบการณ์การทำงาน ความสนใจ ความมุ่งมั่นและความสามารถ ตลอดจนความพร้อมที่จะเข้าศึกษาในระดับปริญญามหาบัณฑิต รวมทั้งผลการเรียนจากสถาบันเดิม
วิธีการและเกณฑ์การคัดเลือกให้เป็นไปตามระเบียบวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เรื่องการรับสมัครนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในปีนั้นๆ มหาบัณฑิต พ.ศ. 2551
- ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการบัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
- ยินยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของบัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
- รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาชาวต่างประเทศที่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขา จากสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาหรือสำนักงานข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรอง

การเทียบโอนหน่วยกิตจากสถาบันอื่น
- เป็นไปตามข้อบังคับของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2555 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
สถานที่ติดต่อสอบถามรายละเอียด
- หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ที่ตั้ง ณ ห้อง 9912 ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เลขที่ 46 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร 10600 หมายเลขโทรศัพท์ 02-878-5095
เอกสารรับรองหลักสูตร